พัฒนาทักษะการให้คำปรึกษา ของอาจารย์ที่ปรึกษา
“การพัฒนาทักษะการให้คำปรึกษา และบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา”
กระบวนการให้การปรึกษามีดังนี้
1.
การสร้างสัมพันธภาพ
2.
ขั้นสำรวจปัญหา
3.
เข้าใจปัญหาและสาเหตุของความต้องการ
4.
ขั้นวางแผนแก้ไข
5.
การยุติการปรึกษาและติดตามผล
ขั้นตอนและทักษะที่ใช้ให้การปรึกษา มีดังนี้
ขั้นตอน
|
ทักษะ
|
1. สำรวจปัญหา
|
การใส่ใจ การถาม การให้กำลังใจ การเงียบ
|
2. เข้าใจปัญหา
|
การใส่ใจ
การถาม การเงียบ การทำให้กระจ่าง
|
3. การกำหนดปัญหา
|
การซ้ำความ
การสะท้อนความรู้สึก การสะท้อนเนื้อหา
|
4. ร่วมหาทางแก้ไข
|
การตีความ การสรุปความ
|
5. ประเมินทางเลือกที่เป็นไปได้
|
การถาม การเผชิญหน้า การสรุปความ
|
6. ตัดสินใจทางเลือกที่เป็นไปได้
|
การใส่ใจ
การถาม การให้กำลังใจ การสรุปความ
|
7. หาวิธีแก้ปัญหานั้น
|
การถาม การสะท้อนความรู้สึก การสรุปความ
|
นอกจากนี้อาจารย์ที่ปรึกษาหรือครูผู้สอนต้องเข้าใจธรรมชาติของนักศึกษาว่าไม่ชอบการตักเตือน ต่อหน้าหน้าเพื่อน ๆ ควรชมเชยในที่แจ้ง
ครูมีไว้สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับศิษย์ ครูต้องสอนให้ถึงแก่นของศาสตร์นั้น ๆ คือ
ครูรู้ ครูรัก ครูเข้าใจ
ต้องชื่นชมในสิ่งที่เขามีให้กำลังใจในสิ่งที่เขาไม่มี ฟังอย่างลึกซึ้ง การชมอย่างจริงจัง อยากให้เด็กแก้ไขพฤติกรรมใดให้บอกเจาะจง
ขอโทษบ้างหากจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น
การปรึกษามิใช่รอคอยให้เด็กเดินเข้ามาหาเราตามหน้าที่
มุมมองที่เด็กมองเรากับที่เรามองเด็กต่างกัน
การปรึกษาไม่ใช่การสัมภาษณ์เก็บข้อมูล แม้ว่าการปรึกษาจะมีการซักถามกันบ้าง
การปรึกาไม่ใช่การให้ความคิดเห็นหรือคำแนะนำอย่างเดียวเท่านั้น แต่จะมีการให้ความคิดเห็น/คำแนะนำกันบ้าง
ฉะนั้นอาจารย์ที่ปรึกษาและนักศึกาที่อยู่ในความดูแล เมือ่ได้พบปะพูดคุยกันอย่างใกล้ชิด ได้รับการปรึกษาที่ถูกต้อง ทำให้ทาบถึงปัญหา และอุปสรรคต่าง ๆ
ในการเรียนของนักศึกษา
จะทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันและส่งผลการศึกษาของนักศึกษา
ตลอดจนทำให้นักศึกษาประสบความสำเร็จในการศึกษาต่อไป