“เขียนอย่างไร...............................ให้ได้ทุน"
การเขียนโครงการวิจัยเพื่อให้ได้รับการสนับสนุน
ทุนการวิจัยจากหน่วยงานภายนอกเป็นเรื่องที่มีความ สำคัญอย่ายิ่งสำหรับอาจารย์มทุกคน เนื่องจากอาจารย์ต้องแสวงหาความรู้ใหม่ๆ
เพื่อพัฒนา เป็นองค์ความรู้ในการสอนนักศึกษาในขณะเดียวกันก็ จำป็นต้องรักษาสถานภาพการเป็นอาจารย์ของตนเอง
ในการดำรงตำแหน่งวิชาการไปพร้อมกันด้วย ในขณะที่ หน่วยงานที่ควบคุมคุณภาพการจัดการศึกษาของ
มหาวิทยาลัยก็กำหนดเกณฑ์ในการประกันคุณภาพการ ศึกษาทั้งการประกันคุณภาพภายในและการประกัน
คุณภาพภายนอกให้มหาวิทยาลัยต้องมีผลงานวิจัยตาม เกณฑ์แต่การทำวิจัยที่มีคุณภาพจึงจำเป็นต้องใช้เงินทุน
จำวนมากในการดำเนินการ ซึ่งผู้วิจัยต้องแสวงหา ท่ามกลางการแข่งขันของผู้เสนอขอรับทุนวิจัยที่มีจำนวน
เพิ่มมากขึ้นทุกวันแต่แหล่งเงินทุนวิจัยมีจำวนเพิ่มขึ้น เพียงเล็กน้อย
มีผลให้การพิจารณาให้ทุนสนับสนุนการ วิจัยแต่ละครั้งมีความเข้มงวดเพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้เพื่อคัด เลือกโครงการวิจัยที่มีคุณค่าทั้งด้านวิชาการและการนไปใช้ประโยชน์ได้จริง
อาจารย์ผู้ต้องการทำจัยจึงต้อง เรียนรู้วิธีการที่จะเขียนโครงการวิจัยที่มีคุณภาพเพื่อให้
สามารถขอรับทุนจากหน่วยงานภายนอกได้
ข้อเสนอโครงการวิจัย
(Proposal)
ที่ดี
1.
ตอบสนองต่อความจำเป็นหรือตอบสนองประเด็นยุทธศาสตร์
2.
ขั้นตอน
กระบวนการทำวิจัยของข้อเสนอโครงการดูแล้วมีความเป็นไปได้ และน่าจะสามารถทำได้สำเร็จทันเวลา
3.
ชื่อโครงการวิจัยมีความน่าสนใจ
4.
อ่านแล้วรู้เรื่อง
สามารถทำความเข้าใจได้ง่าย
5.
ขอบเขตของโครงการคุ้มค่ากับงบประมาณของการทำการวิจัย
6.
ตอบสนองความต้องการและสามารถให้ผลประโยชน์ต่อผู้ให้ทุนได้อย่างตรงประเด็น
7.
ในบางทุนวิจัย
หากเป็นโครงการวิจัยที่มีความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน หรือมีความร่วมมือกับผู้ประกอบการ อาจจะได้รับการพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ
เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย
1.
ดูนโยบายยุทธศาสตร์
วิเคราะห์กรอบการให้งบประมาณจากแหล่งทุน
2.
มีคการเตรียมตัวหาหัวข้อไว้ก่อนดู Literature review วิเคราะห์ว่าทำได้หรือไม่
จากนั้นลองทำว่าได้หรือไม่
ดูผลที่ได้
มองหาแหล่งทุนที่จะเสนอและวิเคราะห์ว่าผู้ให้ทุนมีความต้องการอะไร
3. การเขียน Research experience
ของตนเองลงไปใน Literature Review ของโครงการวิจัยจะทำให้ผู้ประเมินโครงการวิจัยมีความมั่นใจว่าผู้ขอทุนมีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่เสนอขอทุนมากขึ้น
ทั้งนี้หากโครงการนั้นเป็นเรื่องใหม่หรือผู้ขอทุนยังมีประสบการณ์ไม่มาก ควรใส่ชื่อบุคคลที่เรามี connection ด้วยซึ่งมีความเชี่ยวชาญ
เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้สนับสนุนทุน ว่าเราจะทำให้สำเร็จได้
4.
ดูวัตถุประสงค์และความต้องการของผู้ให้ทุน
ส่วนประกอบที่สำคัญของการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย
1.
ความเป็นมาและความสำคัญที่นำมาสู่การวิจัยควรประกอบด้วยเนื้อหาประมาณ 3-4
ย่อนห้า
- ย่อหน้าแรก
กล่าวถึงความเป็นมาและความสำคัญของงานวิจัยในเชิงกว้าง
- ย่อหน้าที่สอง กล่าวถึงหัวข้อหลักงานวิจัย
- ย่อหน้าที่สาม
ทบทวนความก้าวหน้าในงานวิจัยที่ผ่านมาที่เกี่ยวข้อง
- ย่อหน้าที่สี่
ชี้ให้เห็นถึงองค์ความรู้ที่ยังเป็นช่องว่างในงานวิจัย และจะเป็นสิ่งที่ศึกษาในงานวิจัยนี้
2.
การสำรวจผลงานที่เกี่ยวข้อง
- ผลงานที่ให้ข้อมูลพื้นฐาน
-ผลงานที่ใช้ระเบียบวิธ๊แก้ปัญหาวิจัยโดยทั่วไป
-
ผลงานที่ใช้ระเบียบวีแก้ปัยหาวิจัยที่คล้ายกับวิธีที่จะใช้งานวิจัยนี้
3. ประเด็นวิจัย
-
ความถูกต้องของระเบีบบวิธีที่มีอยู่
-
ความสามารถในการประยุกต์ใช้งานระเบียบวิธีที่มีอยู่
-
ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระเบียบวิธีที่มีอยู่
4. คำถามการวิจัย คือ
คำถามที่นำไปสู่สมมติฐาน (Hypothesis) โดยคำถามการวิจัยควรมีคุณสมบัติ
ต่อไปนี้
-
มีความเกี่ยวข้องกับโครงการวิจัย
- มีความเฉพาะเจาะจง และมีขอบเขตที่ชัดเจน
- สามารถหาคำตอบได้โดยโครงการวิจัยนี้
5. วัตถุประสงค์ คือ
สิ่งที่ต้องดำเนินการเพื่อตอบคำถามวิจัย
โดยวัตถุประสงค์การวิจัยควรมีคุณสมบัติ ต่อไปนี้
- มีความชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเคลือ
-
ระบุผลที่คาดว่าจะได้รับทั้งในระยะสั้น
และระยะยาว
- ต้องให้สมเหตุสมผลกับทรัพยากรและเวลาที่ต้องการ
6. วิธีการวิจัย คือ
แนวคิดในการดำเนินการวิจัยเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้และควรอธิบายให้ผู้อ่าน เข้าใจแนวคิดดังกล่าว
โดยหลีกเลี่ยงรายละเอียดปลีกย่อยทางเทคนิคที่ไม่จำเป็น ถ้าเป็นไปได้ควรระบุ
แนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้น
7.
ประโยชน์หรือผลกระทบจากโครงการวิจัย
นอกจากผลงานตีพิมพ์
งานวิจัยที่ดีควรสามารถประยุกต์ใช้ได้
และมีกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับประโยชน์
ควรระบุให้ชัดเจนว่า ใครคือ
กลุ่มเป้าหมาย
และจะได้ประโยชน์อย่างไร
ส่วนการคาดการณ์ผลกระทบ
เชิงบวกเป็นเรื่องที่ยอบรับได้ถ้าต้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง
เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุน
เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อให้ได้ทุนนี้นมีความสำคัญอย่างยิ่งในการได้มาซึ่งทุนในการพัฒนาและสนับสนุนงานวิจัย ดังนั้นผู้วิจัยจะต้องเขียนโครงร่างการวิจัยที่เย้ายวนใจคนอ่าน อ่านแล้วมีความรู้สึกว่างานวิจัยน่าสนใจ
ทำแล้วเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมหรือต่อผู้ให้ทุนโดยตรง
และผู้ให้ทุนเห็นว่าควรให้การสนับสนุนทุนเพื่อทำการวิจัย
ดังนั้นผู้จัดทำข้อเสอนโครงการวิจัยจึงควรจัดทำด้วยความประณีต มีเหตุผลที่เหมาะสม เพื่อให้ได้รับทุนสนับสนุนการทำวิจัย โดยข้อเสนอโครงการที่ดีควรประกอบด้วยรายละเอียด ต่อไปนี้
1.
จัดทำข้อเสนอตามแบบฟอร์มที่แหล่งทุนกำหนด
ตรวจสอบข้อเสนอการวิจัยว่าได้จัดทำตามเงื่อนไขของการจัดทำข้อเสนอหรือมีส่วนประกอบของเนื้อหาตามแบบฟอร์มที่แหล่งทุนกำหนดครบถ้วน
2.
ชื่อเรื่องหรือหัวข้อเสนอโครงการวิจัย
ต้องเป็นหัวข้อที่น่าสนใจ
ชื่อเรื่องจะสะท้อนจุดเน้นของงานวิจัยชัดเจน ระบุคำสำคัญในชื่อเรื่อ โดยจัดเรียงคำสำคัญที่สุดมาก่อน ใช้ชื่อเรื่องที่สั้นแต่ได้ใจความชัดเจน
3. ผู้วิจัย/คณะผู้ทำวิจัย ความสามารถของผู้วิจัย ประวัติของหัวหน้าโครงการจะสำคัญมาก ในการเสนอโครงการวิจัย ดังนั้นควรระบุชื่อ ตำแหน่ง
สถานที่ทำงานและที่อยู่
เพื่อประกอบการพิจารณาจัดสรรทุน
การคัดเลือกอาจารย์หรือนักวิจัยที่ทำงานวิจัยในสาขาที่ตรงกับความเชี่ยวชาญจะเหมาะสมกว่าอาจารย์ที่มีชื่อเสียงแต่ทำงานวิจัยที่ไม่ตรงกับสาขาที่เชี่ยวชาญ
4. ที่มาและความสำคัญของการวิจัย
ระบุประเด็นสำคัญของการทำวิจัยที่แสดงเหตุผลของการศึกษาวิจัยโดยมีการทบทวนอ้างอิงวรรณที่เกี่ยวข้องและเป็นปัจจุบัน อธิบายลักษระของข้อเสนอการวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า
ข้อเสนอโครงการนี้มีความสำคัญและสามารถแก้ปัญหาได้อย่างไร
5
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
วัตถุประสงค์กับหัวข้อการวิจัยต้องมีความสอดคล้องกัน ต้องชัดเจนกระชับ สามารถทำได้และครอบคลุมการทำวจัยที่ต้องการศึกษา ดังนั้นผู้เสนอโครงการต้องนำเสนอภาพเหล่านี้ให้กับผู้ประเมินเห็นว่า
การดำเนินงานวิจัยมีความคุ้มค่าต่อการลงทุนถ้าผลการวิจัยประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
6. กรอบแนวคิด
ควรสร้างกรอบแนวคิดที่ทันสมัยซึ่งคาดว่าจะได้ผลผลิตงานวิจัยที่เกีดประโยชน์สูงสุดสามารถนำไปใช้ในการเผยแพร่และนำไปใช้ได้อย่างกว้างขวางเป็นรูปธรรม ควรเป็นการพัฒนาองค์ประกอบทางการศึกษา
7.
ขอบเขตการวิจัยและงบประมาณที่ขอรับการสนับสนุน ในการทำวิจัย
จำเป็นต้องกำหนดปริมาณงานหรือขอบเขตของการวิจัย ให้เหมาะสมกับเวลาและงบประมาณที่คาดว่าจะได้รับ ควรชี้แจงรายละเอียดของหมวดค่าวัสดุและค่าใช้สอยอย่างละเอียด
เพื่อประโยชน์ของผู้เสนขอรับทุนและผุ้ประเมินโครงการในการจัดสรรงบประมาณทุนอุดหนุนการทำวิจัย
8. ระเบียบวิธีการวิจัย ระบุระเบียบวิธีการวิจัยแบบย่อที่สามารถทำให้ผู้พิจารณาทุนทราบและเข้าใจในขั้นตอนการวิจัยแสดงถึงวิธีการดำเนินการวิจัย ซึ่งอาจเป็นการทดลอง การเก็บข้อมูลการใช้แบบสอบถาม หรืออื่น ๆ
9.
แผนการดำเนินงาน
เป็นแบบละเอียด
มีขั้นตอนการดำเนินงานที่เหมาะสม
ชัดเจน มีคำอธิบายประกอบแผนการดำเนินงานให้เข้าใจได้ง่ายและมีแผนการถ่ายทอดผลงานวิจัยไปสู่กลุ่มเป้าหมาย
10.
จัดทำเอกสารข้อเสนอการวิจัยให้ทางการ
ไม่ควรประดิษฐ์ลวดลายหรือลงทุนทำรุปเล่มที่เน้นความสวยงามเกินความจำเป็น ควรจัดทำเอกสารให้ดูเรียบร้อย น่าเชื่อถือ