การตั้งชื่อเรื่องบทความ
1. กระชับ (Compact)
ไม่สั้นหรือยาวเกินไป โดยอาจแสดงถึงแนวทางหรือวิธีการที่ใช้ในการศึกษาไว้ด้วยโดย
ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย (Redundant) หรือคำที่ไม่จำเป็น (Unnecessary)ใช้คำให้น้อยที่สุด ประมาณ 10 – 15 คำ ในการตั้งชื่อเรื่อง
2. ตรงประเด็น (Cogent)
มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับกับสาระหลัก
หรือวัตถุประสงค์ของงานวิจัย สื่อ ความหมายเจาะจงลงไปในเรื่องที่ทำ
ไม่ควรสื่อความที่กว้างเกินไปดัง เช่น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
หรือ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
3.
การตั้งชื่อเรื่องอาจจะตั้งเป็นคำถามหรือวลีก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นประโยค
เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการ
บทความทางวิชาการ หมายถึง
งานเขียนซึ่งมีการกำหนดประเด็นที่ชัดเจน
มีการวิเคราะห์ประเด็นดังกล่าวตามหลักวิชาการ และมีการสรุปประเด็น
อาจเป็นการนำความรู้จากแหล่งต่าง ๆ มาวิเคราะห์
โดยผู้เขียนสามารถให้ทัศนะทางวิชาการของตนเองได้อย่างชัดเจน
การเขียนบทความทางวิชาการเป็นส่วนหนึ่งของการขอตำแหน่งทางวิชาการซึ่งเป็นการพัฒนาตนเองของอาจารย์ประจำหลักสูตรจึงควรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้นผู้เขียนต้องมีความรู้ความเข้าใจในการเขียนบทความแต่ละประเภทให้เข้าใจชัดเจนดังนี้
1. บทความวิจัยเป็นการประมวลผลอย่างกระชับและสั้นของกระบวนการวิจัยและผลการวิจัย
ซึ่งเป็นงานศึกษาหรือค้นคว้าอย่างมีระบบด้วยวิธีวิทยาการวิจัย
ซึ่งเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้น ๆ และมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล
คำตอบ ข้อสรุปที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการ
หรือเอื้อต่อการนำวิชานั้นไปประยุกต์
2. บทความวิชาการ
เป็นงานเขียนทางวิชาการ
ซึ่งมีการกำหนดประเด็นที่ต้องการอธิบายหรือวิเคราะห์อย่างชัดเจน
ทั้งนี้มีการวิเคราะห์ประเด็นดังกล่าวตามหลักวิชาการ
โดยมีการสำรวจวรรณกรรมเพื่อสนับสนุน จนสามารถสรุปวิเคราะห์ในประเด็นนั้น ๆ
ได้อาจเป็นการนำความรู้จากแหน่งต่าง ๆ
มาประมวลร้อยเรียงเพื่อวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ
โดยผู้เขียนแสดงทัศนะทางวิชาการของตนไว้ชัดเจน
3. บทความปริทัศน์เป็นบทความทางวิชาการที่มีการศึกษารวบรวมและวิเคราะห์องค์ความรู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลึกซึ้ง
รอบด้าน และเป็นระบบ
รวมทั้งมีการอภิปรายผลในเรื่องที่ศึกษาให้เห็นถึงแนวโน้มว่าเป็นไปในทิศทางใด มีข้อดีข้อเสียหรือจุดแข็งจุดอ่อนขององค์ความณุ้อย่างไร
ตามทัศนะทางวิชาการของผู้เขียน
4.
บทวิจารณ์หนังสือ เป็นการวิเคราะห์ว่าหนังสือเล่มนั้นบรรลุเป้าหมายที่ต้องการสื่อออกมาไหมและแสดงความคิดเห็นของผู้เขียนด้วย
โครงสร้างของบทความประเภทต่าง ๆ
บทความวิชากร/ปริทัศน์
|
บทความวิจัย
|
ส่วนประกอบตอนต้น (ส่วนนำ)
|
ส่วนประกอบตอนต้น (ส่วนนำ)
|
1. ชื่อเรื่อง
2. ข้อความเกี่ยวกับผู้เขียน
3. บทคัดย่อหรือสาระสังเขป
|
1. ชื่อเรื่อง
2. ข้อความเกี่ยวกับผู้เขียน
3. บทคัดย่อหรือสาระสังเขป
(โดยเน้นเฉพาะประเด็นข้อ ค้นพบที่สำคัญของผลการวิจัย)
|
ส่วนเนื้อหา
|
ส่วนเนื้อหา
|
1.
ความนำเป็นการเขียนที่สาระสำคัญและจุดมุ่งหมายของเรื่องที่จะเขียน
ซึ่งจะเป็นการปูพื้นเข้าสู่เนื้อความของบทความ
2.
เนื้อความ จะเป็นการเขียนรายละเอียดประเด็น ตามที่
ผู้เขียนได้วางโครงเรื่องไว้ โดยหัวข้ออาจแตกต่างกันไปในบทความวิชาการแต่ละเรื่อง
โดยผู้เขียนจะเขียนทั้งข้อเท็จจริง ข้อมูล ข้อค้นพบต่าง ๆ
และแทรกความคิดเห็นของผู้เขียนตลอดจนทัศนะในด้านต่าง ๆ
|
1.
ความนำ เป็นการเขียนสาระความเป็นมาของปัญหาการวิจัย
2.
เนื้อความเป็นการเขียนองค์ประกอบของการวิจัยตามที่ได้ดำเนินการวิจัย ได้แก่
2.1
วัตถุประสงค์การวิจัย
2.2
สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี)
2. 3
การทบทวนวรรณกรรม
2.4
ระเบียบวิธีการวิจัย ซึ่งประกอบด้วย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล และวิธีการ
วิเคราะห์ข้อมูล
2.5
ผลการวิจัย
|
บทสรุป
|
บทสรุป
|
เป็นการสรุปสาระของรายละเอียดในเนื้อหา
หรือเสนอเป็นข้อสังเกต หรือข้อเสนอแนะอื่น บทสรุปควรเน้นที่ประเด็นสำคัญ
หรือประเด็นหลักที่ทำให้ผู้อ่านเห็นภาพของส่วนเนื้อหา
|
เป็นการอภิปรายผล และข้อเสนอแนะโดยจะเขียนสรุปประเด็นหลักของการวิจัย
รวมทั้งอภิปรายผลการวิจัยตามหลักแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
และข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
|
ส่วนประกอบตอนท้าย
|
ส่วนประกอบตอนท้าย
|
- บรรณานุกรม/เอกสารอ้างอิง
|
1.
บรรณานุกรม/เอกสารอ้างอิง
2. กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี)
|
บทคัดย่อ (Abstracts)บทความวิจัย/วิชาการ/ปริทัศน์
บทคัดย่อ (Abstract) หมายถึง
การสรุปอย่างได้ใจความที่สุด บทคัดย่อจะเน้นจุดสำคัญหรือผลลัพธ์ในรายงานให้เด่นชัด
เพื่อที่จะบอกให้ผู้อ่านรู้ว่าในรายงานนั้นจะมีเรื่องสำคัญอะไร
และเป็นบทที่อยู่หน้าเนื้อเรื่องโดยทั่วไปจะเขียนต่อจากชื่อเรื่อง
หรืองานวิจัยนั้น สำหรับรายงานการวิจัยต้องเขียนบทคัดย่อทั้งภาษาไทย
และภาษาอังกฤษโดยมีองค์ประกอบดังนี้
ส่วนแรก คือ วัตถุประสงค์
ส่วนที่สอง คือ กลุ่มตัวอย่าง
เครื่องมือวิจัย การเก็บข้อมูล และสถิติที่ใช้
ส่วนที่สาม คือ ผลการวิจัย/ผลการทดลอง
ข้อสรุปหลัก และควรปิดท้ายด้วยประโยชน์และการประยุกต์ใช้
หมายเหตุ: บางแหล่งตีพิมพ์กำหนดคำในบทคัดย่อ
แนะนำว่าให้เขียนไปก่อนโดยไม่ต้องคำนึงจำนวนคำ แล้วค่อยมาตัดทิ้งภายหลัง
หลักเกณฑ์ในการเขียนบทคัดย่อที่ดี
มีดังนี้
1. 1. ควรคัดแต่เรื่องสำคัญ
ๆ ที่เป็นประเด็นน่าสนใจทั้งหมด จะต้องเน้นการถ่ายทอดเฉพาะจุดเด่นของการศึกษา
โดยงานวิจัยมีความชัดเจน สั้น กะทัดรัด พอดีกับกฎเกณฑ์บางอย่างของบทคัดย่อที่ดี
เช่นจำนวนคำต้องอยู่ระหว่าง 200-250 คำ หรือประมาณไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4
2. ก่อนการอ่านและทำความเข้าใจกับงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ของตนเอง
เพื่อหาประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ดึงดูดให้ผู้อ่านทั่วไปอยากอ่านวิจัยเล่มสมบูรณ์
3. ไม่มีการตีความหรือวิพากษ์วิจารณ์โดยใช้ความคิดของตนเอง
4. ไม่ควรเขียนประโยคที่เข้าใจยาก
หรือมีความรุนแรงในตัวมาใช้ ไม่ใช้ศัพท์เฉพาะท้องถิ่น
ไม่ใช้ตัวย่อหรือสัญลักษณ์โดยไม่จำเป็น เพราะอาจสร้างความไม่เข้าใจให้ผู้อ่านได้
5. ไม่ควรอ้างอิงตัวเลข
แผนภาพ ตาราง โครงสร้างสูตรสถิติต่าง ๆ หรือสมการต่าง ๆ ในบทคัดย่อ นอกจากจำเป็นที่จะแสดงผลการวิเคราะห์
6. ในการเขียนบทคัดย่อ
อาจมีหลายย่อหน้าได้ เพื่อเพิ่มความเข้าใจให้ผู้อ่านในแต่ละตอน
7. หลีกเลี่ยงการอ้างอิงงานวิจัยของผู้อื่นในบทคัดย่อ
8. ทำตามขั้นตอนของโครงสร้างการเขียนบทคัดย่อ
โดยต้องระมัดระวังให้มาก รวมถึงลักษณะแบบตัวอักษร ขนาดตัวอักษร
การกำหนดขอบเขตหน้ากระดาษ เคร่งครัดต่อหลักการพิมพ์ และรูปแบบที่เป็นที่ยอมรับ
ควรระมัดระวังในการตรวจสอบการเขียนโดยอ่านหลาย ๆ รอบ
จะเป็นการเพิ่มคุณภาพของบทคัดย่อให้เป็นที่ยอมรับในการนำเสนองานวิจัย
การเขียนคำสำคัญ (Keyword)บทความวิจัย/วิชาการ/ปริทัศน์
- ควรมีคำสำคัญไม่น้อยกว่า
3-5 คำ
- คำสำคัญ
คือ ตัวแปรของการวิจัย
- คำสำคัญ
คือ คำเฉพาะในงานวิจัยนั้นและเป็นคำที่เป็นสากลยอมรับกันทั่วไป
- คำสำคัญจะนำไปใช้ประโยชน์ในการเขียนของบทนำ
บทนำ (Introduction)บทความวิจัย/วิชาการ/ปริทัศน์
- อธิบายที่มาและความสำคัญของปัญหา
ช่องว่างของปัญหา หรือ ที่นำไปสู่ การวิจัย และต้องมีการอ้างอิงที่มาของบทนำด้วย
- โดยทั่วไป
บทนำ มี 2-3 paragraphs
- Paragraph 1 หรือ 2
เขียนถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ตีพิมพ์มาก่อน
โดยต้องทบทวนวรรณกรรมให้ทั่วถึงครบถ้วนอ้างอิง paper ที่นำมาใส่ให้ถูกต้อง
- Paragraph 2 หรือ 3
นำเสนองานของตนเอง ให้ข้อมูลถึงเหตุผลที่ต้องทำวิจัยเรื่องนี้ พร้อมสอดแทรกวัตถุประสงค์ของการวิจัย
- ปิดท้ายด้วยผลการศึกษาสั้นๆ
พร้อมประโยชน์และการประยุกต์ใช้ ต้องเขียนออกมาให้ได้ว่างานวิจัยนี้น่าสนใจ
วัตถุประสงค์การวิจัย (Objective)บทความวิจัย
- วัตถุประสงค์การวิจัยในบทความวิจัยให้เลือกบางข้อจากรายงานวิจัย
- วัตถุประสงค์การวิจัยในบทความวิจัยขึ้นอยู่กับประเภทของบทความวิจัยที่ต้องการนำเสนอ
- วัตถุประสงค์การวิจัยในบทความวิจัยไม่จำเป็นใส่ทุกข้อเหมือนในรายงานวิจัย
เลือกเฉพาะที่ต้องการรายงานผล
- ผลการวิจัยในบทความต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย
ถ้าต้องการรายงานผลการวิจัยเพิ่มก็เพิ่มวัตถุประสงค์การวิจัย
วิธีการวิจัย (Research Methods)บทความวิจัย
- เป็นการเขียนเพื่อให้ทราบว่าข้อมูลของงานวิจัยนี้ถูกรวบรวมหรือถูกสร้างขึ้นอย่างไร
- ประกอบด้วยขอบเขตข้อมูล
เช่น ประชากร กลุ่มตัวอย่าง วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือ การสร้างเครื่องมือ
เก็บข้อมูลอย่างไร วิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ ซึ่งอาจเป็นวิธีการเชิงคุณภาพหรือปริมาณหรือวิธีผสมผสาน
ขึ้นอยู่กับประเภทของงานวิจัย
ผลการวิจัย (Results)บทความวิจัย
- แสดงผลการวิจัยและข้อมูลต่าง
ๆ ที่ได้จากการศึกษาวิจัยนั้น
- ควรมีบทนำสั้น
ๆ /วัตถุประสงค์ของการศึกษาในแต่ละผลการศึกษา
- ควรมีสรุปผลการศึกษาสั้น
ๆ ในแต่ละผลการศึกษา
- ใช้รูปภาพ
หรือ ตาราง แสดงผลเพื่อง่ายต่อการเข้าใจ
- หากเป็นการเปรียบเทียบต้องแสดงค่าทางสถิติ
- รูปและตารางควรนำเสนอในรูปแบบที่สวยและเข้าใจง่าย
“แบบ eye-catching
format”
- ทุกรูปและตารางจะต้องมีการระบุในเนื้อเรื่อง
ต้องมีคำอธิบาย
- การเขียนคำอธิบายใต้ภาพต้องเขียนให้สื่อความหมายเพื่อนำไปสู่การเข้าใจรูปได้อย่างสมบูรณ์แบบ
อภิปรายผล (Discussion)บทความวิจัย
- ควรเสนอผลอย่างชัดเจน
ตรงประเด็น เป็นผลที่ค้นพบ โดยลำดับตามวัตถุประสงค์ที่ศึกษา
- อภิปรายผลของวิจัยที่เกิดขึ้นเป็นเพราะอะไร
เป็นการอธิบายสาเหตุการเกิดผล การเปรียบเทียบผลกับข้อมูลหรือข้อสรุป
ที่ได้มาจากการทบทวนวรรณกรรม
หรือข้อมูลของงานวิจัยของผู้อื่นที่มีการรายงานไว้แล้วมาสนับสนุน
ควรหลีกเลี่ยง การนำผลการศึกษามาเขียนซ้ำในการอภิปรายผล
สรุป (Conclusion)บทความวิจัย/วิชาการ/ปริทัศน์
เป็นการสรุปผลที่ได้รับจากการวิจัยแบบกระชับเข้าใจง่ายตามวัตถุประสงค์ที่ศึกษา
ข้อเสนอแนะ (Recommendation)บทความวิจัย
- เป็นการนำเสนอว่าผลจากการวิจัยนั้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเหตุการณ์จริงได้อย่างสมเหตุสมผล
และมีแนวโน้มว่าจะเป็นไปได้ โดยยกแนวทางในการนำไปพิสูจน์ในครั้งต่อไป มี ๒ แนวทาง
คือ
- ข้อเสนอแนะการนำผลการวิจัยไปใช้
- ข้อเสนอแนะที่สืบเนื่องจากผลการวิจัย
เพื่อเป็นการพัฒนาต่อเนื่องให้ได้องค์ความรู้เพิ่มเติมจากการพิสูจน์ตามข้อเสนอที่มีผลกระทบต่องานวิจัย
รายการอ้างอิง (References)บทความวิจัย/วิชาการ/ปริทัศน์
- ส่วนมากใช้รูปแบบการอ้างอิง
APA Style
- ควรเป็นอ้างอิงที่ไม่เกิน
5 – 8 ปี จากปีปัจจุบัน
- ควรหาอ้างอิงจากบทความวิชาการมาอ้างอิง
- แต่ละแหล่งตีพิมพ์มีรูปแบบอ้างอิงที่แตกต่างกัน
ต้องเขียนตามที่แต่ละแหล่งตีพิมพ์กำหนด
- ต้องใส่อ้างอิงให้ครบตามที่ปรากฏในเนื้อหา
แนวทางในการเขียนบทความวิจัย
1.
ถามตัวเองก่อนว่าจะเขียนไหม (ทำวิจัยแล้วหรือยัง)
2.
ทำความเข้าใจธรรมชาติของบทความวิจัยให้ดีก่อน
3.
กำหนดเค้าโครงที่จะเขียน
4.
อ่านทบทวนงานวิจัยที่ทำให้เกิดความซาบซึ้ง
5. พยายามกลั่นกรอง (Condense)
และ ย่อย (Digest) เนื้อหาจากรายงานการวิจัย
มาเรียบเรียงเป็นบทความ (หลีกเลี่ยงการตัดแปะ)
6.
เขียนตามลำดับขั้นตอนที่เป็นที่ยอมรับ
7.
ตระหนักในเรื่องการใช้ภาษา (ศิลปะ) และถูกหลักไวยากรณ์